You are using an outdated browser. For a faster, safer browsing experience, upgrade for free today.

1. หลักการและเหตุผล

           กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของไทยเข้าร่วมการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับชั้นนำของโลกเพื่อกำหนดแนวทางสนับสนุนการยกระดับสถาบันอุดมศึกษาไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากลสอดคล้องตามกรอบการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสหประชาชาติ ใน THE (Times Higher Education) Impact Rankings เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ด้วยการประเมินตามตัวชี้วัดหลัก 4 ด้านได้แก่ 1) งานวิจัย 2) การเรียนการสอน 3) นโยบายและแนวทางปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัย และ 4) การเชื่อมโยงกับสังคมไทยและสังคมโลก โดยมหาวิทยาลัยไทยหลายแห่งได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับโลก และถือเป็นดัชนีชี้วัดที่ช่วยให้เกิดการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยที่จะเข้าศึกษาต่อของนักเรียนและนักศึกษาทั่วโลกและได้รับการยอมรับในระดับสากล อีกทั้งยังได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญทั้งในระดับประเทศและในระดับโลกอีกด้วย

          ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัย เพื่อส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ ของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งนำไปสู่การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน มหาวิทยาลัยพะเยาจึงจัดให้มีการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 12 ขึ้น ในวันที่ 25 – 27 มกราคม 2566 ภายใต้หัวข้อ “วิจัยและนวัตกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” Research & Innovation for sustainable development goals (SDGs) อันจะเป็นเวทีทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างเครือข่ายระดับชาติ เพื่อการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัย และสถาบันการศึกษาของไทยที่เป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการวิจัยและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน ผ่านการจัดนิทรรศการ กิจกรรมสัมมนาทางวิชาการต่าง ๆ และการนำเสนอผลงานวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งด้านกลุ่มการวิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ และกลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการภายใต้แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่สาธารณะต่อไป


2. วัตถุประสงค์

           1) เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม สู่สังคมในระดับชาติ

           2) เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการ

           3) เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายนักวิจัยในระดับชาติ


3. ระยะเวลา

           วันที่ 25 – 27 มกราคม 2566


4. สถานที่จัดประชุมวิชาการ

          จัดประชุมในรูปแบบ Hybrid

          Onsite: ณ อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) มหาวิทยาลัยพะเยา

          Online: ผ่านระบบ virtual conference


5. กลุ่มเป้าหมาย

          คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษา บุคลากรภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนผู้สนใจทั่วไป


6. งบประมาณ

          1) กองทุนเพื่อการศึกษา (เงินรายได้มหาวิทยาลัย)

          2) กองทุนเงินนอกงบประมาณ (เงินรายได้จากการลงทะเบียน, รายได้จากเงินบริจาคสนับสนุนโครงการ)


7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          1) เกิดเวทีทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม สู่สังคมในระดับชาติ

          2) อาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการ

          3) เกิดเครือข่ายนักวิจัยในระดับชาติ


8. กิจกรรมภายในงาน

          1) การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (Oral Presentation) และภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation) ในรูปแบบ Hybrid

                    1.1) กลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

                    1.2) กลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                    1.3) กลุ่มการวิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

          2) ภาคการประชุมสัมมนา

          3) ภาคนิทรรศการ

                     3.1) นิทรรศการภายใต้หัวข้อ “วิจัยและนวัตกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” Research & Innovation for sustainable development goals (SDGs)

                     3.2) นิทรรศการงานวิจัย Frontier Area-Based

                     3.3) นิทรรศการผลการดำเนินงานโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม (1 Faculty 1 Smart Community) มหาวิทยาลัยพะเยา

                    3.4) นิทรรศการผลงานวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

          4) กิจกรรมมอบรางวัล

                    4.1) การนำเสนอผลงานวิจัยดีเด่นภาคบรรยาย (Oral Presentation) และภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)

                    4.2) รางวัลผลการดำเนินงานโครงการ โครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม (1 Faculty 1 Smart Community) มหาวิทยาลัยพะเยา

                    4.3) รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์สูงสุดของมหาวิทยาลัยพะเยา


9. ลักษณะผลงานและการแบ่งกลุ่มงานที่นำเสนอ

          การนำเสนอผลงานวิจัยมี 2 ลักษณะ ดังนี้

          1) การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบภาคบรรยาย (Oral Presentation)

                    1.1) จัดทำบทความในรูปแบบฉบับเต็ม (Full paper)*

                    1.2) ใช้เวลาการนำเสนอ เรื่องละไม่เกิน 15 นาที (รวมซักถาม 5 นาที)

          2) การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)

                     2.1) จัดทำบทความในรูปแบบฉบับเต็ม (Full paper)*

                     2.2) จัดทำโปสเตอร์ตามรูปแบบที่กำหนด ขนาด 80 ซม. X 120 ซม. ติดตั้งในพื้นที่ที่ทางผู้จัดงานได้จัดเตรียมไว้ให้ (กรณี Onsite)

                     2.3) ใช้เวลาการนำเสนอ เรื่องละไม่เกิน 15 นาที (รวมซักถาม 5 นาที) * สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.prc.up.ac.th

          โดยผลงานวิจัยดังกล่าวจะต้อง

          1) เป็นผลงานที่ยังไม่เคยเผยแพร่มาก่อน

          2) มีหัวข้อเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้

                     กลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

                     กลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                     กลุ่มการวิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

10. รูปแบบการตีพิมพ์เผยแพร่

           1) เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความวิจัยที่ได้มีการบบรรณาธิการ โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ (peer reviewer) ประเมินคุณภาพ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด (เผยแพร่ทางออนไลน์ภายหลังจากวันนำเสนอไม่เกิน 1 เดือน)

           2) การตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ: วารสารนเรศวรพะเยา (จำกัดจำนวนไม่เกิน 15 บทความ)

                    2.1) วารสารนเรศวรพะเยา จัดอยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 1 และ ACI (กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

                    2.2) ตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (มกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม, กันยายน – ธันวาคม)

           3) การตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (TCI กลุ่ม 2) (จำกัดจำนวนไม่เกิน 10 บทความ)

                     3.1) วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดอยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 2 (กลุ่มมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์)

                     3.2) ตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม – มิถุนายน และ กรกฎาคม – ธันวาคม)


11. การพิจารณาผลงาน

           1) กรณีนำเสนอผลงานและตีพิมพ์ในหนังสือรวมบทความวิจัยที่ได้มีการบบรรณาธิการ โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ (peer reviewer) ประเมินคุณภาพ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

                      1.1) คณะกรรมการพิจารณาการเลือกกลุ่มการนำเสนอของผู้นำเสนอ และประเภทของการนำเสนอในเบื้องต้น

                      1.2) พิจารณาผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ (Peer review) โดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกและภายในสถาบัน อย่างน้อย 3 ท่าน ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

                      1.3) คณะผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ พิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุม ฯ และที่จะรวบรวมเป็นหนังสือรวมบทความวิจัยในแต่ละสาขา

           2) กรณีนำเสนอผลงานและตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ: วารสารนเรศวรพะเยา (TCI กลุ่ม 1 และ ACI) และวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา (TCI กลุ่ม 2)

                     1.1) พิจารณาบทความตามการประเมินคุณภาพและตีพิมพ์ตามกระบวนการของวารสาร ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด


12. การเตรียมบทความฉบับเต็ม (Full Paper)

          1) การส่งต้นฉบับ ผู้นำเสนอผลงานจะต้องส่งต้นฉบับแบบพิมพ์ ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์นามสกุล “.doc” (MS Word) ในระบบการลงทะเบียน www.prc.up.ac.th กรณีมีการแก้ไขผลงาน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ประสานงานเพื่อปลดล็อคระบบเพื่อเข้าไปดำเนินการแก้ไข หรือส่งข้อมูลมาที่ E-mail: prconference@up.ac.th

2) ผู้นำเสนอผลงาน สามารถดูรายละเอียดรูปแบบการจัดทำบทความฉบับเต็ม (Full Paper) ได้ที่ www.prc.up.ac.th


13. กำหนดการกิจกรรม



14. อัตราค่าลงทะเบียน

           หมายเหตุ : 1. ผู้นำเสนอผลงานและผู้ลงทะเบียนร่วมงานทั่วไป (กรณี Onsite) จะต้องชำระค่าลงทะเบียนให้เสร็จสิ้น ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2565

           คณะกรรมการฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่จ่ายเงินคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ

           อัตราค่าลงทะเบียนนี้รวมค่าพิจารณาคุณภาพบทความ ค่าวิพากษ์ผลงาน รวมถึงค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม เอกสารการประชุม ค่าของสมนาคุณ และอื่น ๆ


15. วิธีชำระค่าลงทะเบียน

           ชำระเงินค่าลงทะเบียนผ่านระบบลงทะเบียนพะเยาวิจัย ได้ที่ Phayao Research Conference (up.ac.th) ตาม QR-Code ด้านล่างนี้




16. ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่

          กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา

          อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 2 เลขที่ 19 หมู่ 2 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา

          โทร 0 5446 6666 ต่อ 1048 โทรศัพท์มือถือ 08 2629 1970

          โทรสาร 0 5446 6714 E-mail: prconference@up.ac.th Website: www.prc.up.ac.th

          ติดต่อบทความ : (วริศรา คลังนุ่ม, รัชฏาภรณ์ แก้วสืบ)

          ติดต่อด้านอื่นๆ : (จักรพงค์ มาลีพัตร, สิริทัชญา พามณี)




Voelas
พะเยาวิจัย 12

กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 2 เลขที่ 19 หมู่ 2 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000

เปิดแผนที่

ติดตามทาง SOCIAL UPDATES

ติดต่อเอกสารบทความวิจัย
(วริศรา คลังนุ่ม, รัชฏาภรณ์ แก้วสืบ)

ติดต่อเอกสารการเงิน
(ฐิติรัตน์ ทองคำเปลว)

ติดต่องานด้านทั่วไป
(สิริทัชญา พามณี, จักรพงค์ มาลีพัตร)