1. หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2562 ที่มีแนวโน้มความรุนแรงมากขึ้นและขยายพื้นที่ออกเป็นวงกว้างทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จะเห็นได้จากการใช้บริการภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ด้วยมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดโดยการปิดสถานประกอบการต่าง ๆ และมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดและจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมีจำนวนลดลง ในขณะเดียวกันภาคการส่งออกได้มีการจำกัดเส้นทางและปิดกั้นเส้นทางขนส่งสินค้าในบางประเทศทำให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตจึงส่งผลกระทบไปทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ด้านธุรกิจ และสถานประกอบการที่ได้ประสบปัญหาทำให้การลงทุนการผลิตลดลง กำลังการซื้อภายในประเทศปรับตัวลดลงเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคที่มีการใช้จ่ายภายในประเทศที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมในเรื่องของการจ้างงานและรายได้ต่อครัวเรือน เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศ และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง มีแนวโน้มที่จะที่จะขยายวงกว้าง และมีความรุนแรงยืดเยื้อมากขึ้น จึงทำให้รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ก็ยังไม่เพียงพอในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ครอบคลุมทุกภาคส่วน รัฐบาลจึงมีการกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีการใช้จ่ายที่มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้ดีขึ้น ทำให้มีการตั้งคำถามถึงกระบวนทัศน์ใน
การพัฒนาการใช้ชีวิตของมนุษย์ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนในช่วงการแพร่ระบาดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนประเทศไทยก้าวเข้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงมีการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัย เพื่อส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ ของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งนำไปสู่นำองค์ความรู้ในการพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขับเคลื่อนประเทศภายหลังวิกฤติการแพร่ระบาดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายใต้บริบทใหม่ (New Normal) มหาวิทยาลัยพะเยาจึงจัดให้มีการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 11 ขึ้น ในวันที่ 25 – 28 มกราคม 2565 ภายใต้หัวข้อ “Economic and social recovery from covid-19 by research and development” ซึ่งเป็นเวทีทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างเครือข่ายระดับชาติ
เพื่อการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัย และสถาบันการศึกษาของไทยที่เป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม ผ่านการนำเสนอผลงานวิจัย การจัดนิทรรศการ กิจกรรมสัมมนาทางวิชาการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งด้านกลุ่มการวิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ และกลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาให้เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายในประเทศให้เกิดความยั่งยืน ตลอดจนเป็นเวทีที่เปิดโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการสู่สาธารณะ และทำให้เกิดการกระตุ้นการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการพัฒนาประเทศ ก้าวสู่ความเป็นสากลต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และอื่น ๆ
2) เพื่อเป็นการสนับสนุนการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยสู่สังคมในระดับชาติ
3) เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4) เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายนักวิจัยในระดับชาติ
3. ระยะเวลา
วันที่ 25 – 28 มกราคม 2565
4. กลุ่มเป้าหมาย
คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษา บุคลากรภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยรวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และอื่น ๆ
2) มีการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยสู่สังคมในระดับชาติ
3) อาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4) เกิดเครือข่ายนักวิจัยในระดับชาติ
6. กิจกรรมภายในงาน
1) ภาคการนำเสนอผลงานวิจัย (Online)
1.1) การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (Oral Presentation)
- - กลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- - กลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- - กลุ่มการวิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
1.2) ภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)
- - กลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- - กลุ่มการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- - กลุ่มการวิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2) ภาคนิทรรศการ
- 2.1) นิทรรศการภายใต้หัวข้อ “Economic and social recovery from covid-19 by research and development”
2.2) นิทรรศการโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม (1 Faculty 1 Smart Community) - 2.3) นิทรรศการผลงานวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
หมายเหตุ: การจัดงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
3) กิจกรรมมอบรางวัล
- 3.1) รางวัลผลการดำเนินงานโครงการ 1 คณะ 1 สัญลักษณ์ความสำเร็จ (1 Faculty 1 Signature)
หมายเหตุ: การจัดงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
7. รูปแบบการตีพิมพ์เผยแพร่
1) รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceedings)
1.1) จะดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่ทางออนไลน์ภายในเดือนกุมภาพันธ์ (ภายหลังจากวันนำเสนอไม่เกิน 1 เดือน)
2) การตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ: วารสารนเรศวรพะเยา (จำกัดจำนวนไม่เกิน 15 บทความ)
2.1) วารสารนเรศวรพะเยา เป็นวารสารที่อยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 1 และ อยู่ในฐาน ACI (กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ และเกษตรศาสตร์)
2.2) ตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (มกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม, กันยายน – ธันวาคม)
3) การตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (TCI กลุ่ม 2) (จำกัดจำนวนไม่เกิน 10 บทความ)
3.1) วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นวารสารที่อยู่ในฐานTCI กลุ่ม 2 (กลุ่มมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์)
3.2) ตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม – มิถุนายน และ กรกฎาคม – ธันวาคม)
8. การพิจารณาผลงาน
1) กรณีนำเสนอผลงานและตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceedings)
1.1) คณะกรรมการพิจารณาการเลือกกลุ่มการนำเสนอ และประเภทของการนำเสนอ
1.2) พิจารณาผลงาน (Peer review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกและภายในสถาบัน อย่างน้อย 2-3 ท่าน และประเมินบทความตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
1.3) คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุมฯ และที่จะรวบรวมเป็นรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ Proceedings
2) กรณีนำเสนอผลงานและตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ: วารสารนเรศวรพะเยา เป็นวารสารที่อยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 1 และ อยู่ในฐาน ACI
2.1) พิจารณาบทความและการตีพิมพ์ตามกระบวนการของวารสารนเรศวรพะเยา
2.2) ตีพิมพ์ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 และ 3 ประจำปี 2565
3) กรณีนำเสนอผลงานและตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นวารสารที่อยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 2
3.1) พิจารณาบทความและการตีพิมพ์ตามกระบวนการของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
3.2) ตีพิมพ์ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 ประจำปี 2565
9. การเตรียมบทความฉบับเต็ม (Full Paper)
1) การส่งต้นฉบับ ผู้นำเสนอผลงานจะต้องส่งต้นฉบับแบบพิมพ์ ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์นามสกุล
“.doc” (MS Word)
2) ผู้นำเสนอผลงาน สามารถดูรายละเอียดรูปแบบการจัดทำบทความฉบับเต็ม (Full Paper) ได้ที่หน้าหลักของพะเยาวิจัย
หมายเหตุ: กรณีมีการแก้ไขผลงาน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ประสานงานเพื่อปลดล็อคระบบเพื่อเข้าไปดำเนินการแก้ไข โทร 082-629-1970
10. กำหนดการกิจกรรม
ที่ |
กิจกรรม |
นำเสนอผลงานและตีพิมพ์ใน
วารสาร*
|
นำเสนอผลงานและตีพิมพ์ Proceedings |
|
1 |
ประชาสัมพันธ์การจัดงาน |
กรกฎาคม 2564 |
กรกฎาคม 2564 |
|
2 |
• ลงทะเบียนและเปิดรับผลงานเพื่อนำเสนอภาคบรรยายและโปสเตอร์
• ลงทะเบียนเข้าร่วมงานทั่วไป
|
บัดนี้ -15 กันยายน 2564 |
บัดนี้ -15 พฤศจิกายน 2564
|
|
3 |
ประกาศผลการพิจารณา |
ตั้งแต่ 30 กันยายน 2564 |
ตั้งแต่ 30 พฤศจิกายน 2564 |
|
4 |
ผู้นำเสนอยืนยันการนำเสนอ |
ไม่เกิน 9 ตุลาคม 2564 |
ไม่เกิน 16 พฤศจิกายน 2564 |
|
5 |
ปิดรับผลงานวิจัยฉบับแก้ไข |
30 ตุลาคม 2564 |
2 ธันวาคม 2564 |
|
6 |
ผู้นำเสนอและผู้เข้าร่วมทั่วไป
ส่งหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียน
|
ไม่เกิน 15 ธันวาคม 2564 |
ไม่เกิน 15 ธันวาคม 2564 |
|
7 |
นำเสนอผลงานวิจัย/ เข้าร่วมงาน |
25-28 มกราคม 2565 |
8 |
สรุปผลโครงการ |
กุมภาพันธ์ 2565 – มีนาคม 2565 |
*วารสารนเรศวรพะเยา เป็นวารสารที่อยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 1 และอยู่ในฐาน ACI
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นวารสารที่อยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 2
11. อัตราค่าลงทะเบียน
รายการ |
ผู้ลงทะเบียนนำเสนอผลงาน |
|
ชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า (Early Bird) และส่งหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 |
2,000 |
|
ชำระค่าลงทะเบียนปกติหลังวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 |
2,500 |
|
หมายเหตุ :
1. ผู้นำเสนอผลงานจะต้องชำระค่าลงทะเบียนให้เสร็จสิ้น ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2564
2. คณะกรรมการฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่จ่ายเงินคืนไม่ว่าจะกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
12. ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่